Smart Farmer ในไทยและการทำงานจริง
สิ่งหนึ่งที่ต้องยอมรับสำหรับการทำงานด้วย Smart Farm คือ การเข้าถึงเทคโนโลยีและะระบบดิจิทัลต่างๆ ยังคงเป็นอุปสรรคกับพี่น้องเกษตรกรอยู่ไม่น้อย จนสามารถกล่าวได้ว่าแนวคิดนี้ยังต้องใช้เวลาอีกมากสำหรับการประยุกต์ใช้งานจริง
ขณะเดียวกัน ในหน่วยงานทั้งจากภาครัฐและเอกชนก็มีการลงทุนในด้านเทคโนโลยีนี้เพื่อทำให้การผลิตภายในประเทศดีขึ้น เช่นบริษัท เอไอ โรโบติกส์ เวนเจอร์ ในเครือ PTTEP ได้ร่วมลงทุนในการสร้างระบบโดรนนวัตกรรมการเกษตร พร้อมบริการครบวงจร รวมถึงระบบการเก็บข้อมูล เพื่อทำให้ทางเกษตรกรเข้าถึงเครื่องมือชนิดนี้ได้ง่ายขึ้น
นอกจากนี้ ปตท. ส่งเสริมและผลักดันกลุ่ม “วังจันทร์รวมรัก ปลูกผักแบ่งปัน” ในการสร้างร้านค้าผักวังจันทร์ ซึ่งเป็นตลาดออนไลน์สำหรับจำหน่ายผลผลิตจากชุมชนราษฎรตำบลป่ายุบใน อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง จำนวน 8 หมู่บ้านครัวเรือนนำร่อง ผลกำไรจากการจำหน่ายผักจะปันผลคืนให้แก่สมาชิก
แน่นอนว่าการใช้งานอุปกรณ์อื่นๆ เช่น ระบบ IoT และการใช้ Robotics ในการเกษตร รวมถึง Smart Farmer เองก็ยังเป็นหนึ่งในหัวข้อสำคัญสำหรับแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีด้วย คาดว่าหลังจากนี้ในส่วนของการเกษตรจะมีการใช้งานเทคโนโลยีต่างๆ เพิ่มขึ้นอย่างเป็นนัยสำคัญอย่างแน่นอน
สรุป
การทำการเกษตรแบบ Smart Farmer นั้นมีส่วนช่วยอย่างมากในการยกระดับคุณภาพชีวิตของพี่น้องเกษตรกร ทั้งรายย่อยและรายใหญ่ รวมถึงทำให้ผู้บริโภคได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ
ทว่าในสถานการณ์ปัจจุบัน ยังคงเป็นเรื่องยากที่จะกระจายเทคโนโลยีและระบบดิจิทัลรวมถึงบอกเล่าความรู้เหล่านั้นไปสู่มือของเกษตรกร จึงอาจเป็นหน้าที่ของทั้งภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องเข้ามาดูแลและสนับสนุนในระยะยาว เพื่อทำให้การเกษตรแบบอัจฉริยะนี้กลายเป็นหนึ่งในหนทางพัฒนาคุณภาพของประเทศไทยในอนาคต
ที่มา : https://blog.pttexpresso.com/what-is-smart-farmer/